ติดต่อเรา

Email:icothai@gmail.com

Tel0819511100

           ^ กดเบอร์โทรข้างบนเพื่อติดต่อได้เลยคะ 

Line : 0819511100

Office Hours

  • Monday - Friday 
  • 8.30 A.M. to 5.00 P.M.
  • Saturday - Sunday Closed
 ติดต่อสอบถาม

ชื่อ :
นามสกุล :
บัตรประชาชนเลขที่ :
ที่อยู่ :
อำเภอ :
จังหวัด :
รหัสไปรษณีย์ :
มือถือ :
อีเมล์ :
Line ID :
Facebook ID / Name :
เรื่องที่สอบถาม :
 
 

 
 
 
 
 
LINE ID : 0819511100




ขั้นตอนและวิธีการรับบุตรบุญธรรมของคนต่างชาติ

การจัดเตรียมเอกสาร
ฝ่ายผู้ขอรับเด็ก
ผู้ขอรับเด็กต้องติดต่อผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลของประเทศที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา หรือองค์การสวัสดิภาพเด็กของประเทศนั้น ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของประเทศดังกล่าวให้ดำเนินการของเรื่องบุตรบุญธรรม เพื่อให้ส่งเอกสาร ดังต่อไปนี้
1. รายงานการศึกษาเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ และครอบครัวของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมพร้อมทั้งรูปถ่ายสภาพบ้านทั้งภายนอกและภายใน
2. เอกสารรับรองว่าผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีคุณสมบัติ และมีความเหมาะสม ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
3. เอกสารรับรองว่าจะทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดูเด็ก และส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูเด็กพร้อมทั้งรูปถ่ายของเด็กกับบิดามารดาบุญธรรม ให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการทราบทุกระยะเวลา 2 เดือน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน (เฉพาะในกรณีรับเด็กกำพร้าในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ / มูลนิธิฯ 4 แห่ง หรือในกรณีที่ยกให้กันเองโดยไม่มีความเกี่ยวข้องทางสายโลหิต)
4. แบบคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม บธ 5 (Application for Child Adoption)
5. สำเนาหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่
6. สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีมีการสมรสครั้งก่อน ขอให้มีสำเนาทะเบียนหย่าด้วย)(ทะเบียนสมรสมีอายุเกิน 6 เดือน )
7. ใบรับรองแพทย์ ซึ่งแสดงว่ามีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์
8. เอกสารรับรองการทำงานและรายได้
9. เอกสารรับรองการเงินย้อนไปไม่เกิน 6 เดือน
10. เอกสารรับรองทรัพย์สิน
11. รูปถ่ายผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และคู่สมรส บุตรในครอบครัว (ถ้ามี) ขนาด 4.5x6 เซนติเมตร ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวนคนละ 4 รูป และรูปถ่ายสภาพบ้านพักอาศัยและภาพภายในบ้านของผู้ขอฯ
12. เอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของประเทศที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนา ซึ่งรับรองว่าผู้นั้นสามารถรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น (ในกรณีที่ผู้ขอฯพักอาศัยอยู่นอกประเทศที่ผู้ขอฯ มีภูมิลำเนาอยู่)
13. เอกสารจากหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนา ซึ่งรับรองว่าการนำเด็กที่จะเป็นบุตรธรรมเข้าประเทศสามารถกระทำได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น
14. หนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรส หรือคำสั่งอนุญาตของศาลแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรส (ถ้ามี)
15. สำเนาใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว และสำเนาหนังสือสัญญาว่าจ้างงาน (ในกรณีที่ผู้ขอฯ พักอาศัยและทำงานอยู่นอกประเทศที่ผู้ขอฯ มีภูมิลำเนาอยู่)
16. เอกสารรับรองความประพฤติ และความเหมาะสมทั่วไปของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจากผู้ที่เชื่อถือได้อย่างน้อย 2 คน
17. ประวัติอาชญากร (จากประเทศกำเนิดและประเทศที่พักปัจจุบัน)
18. หนังสือรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การรับรองว่า เมื่อขั้นตอนการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ขอรับเด็กจะดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้เด็ก ทั้งตามกฎหมายไทยและกฎหมายของประเทศผู้ขอ
เอกสารในข้อที่ 5-14 จะต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชฑูตไทย หรือสถานกงสุลไทย ในประเทศที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนา
กรณีที่เอกสารเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย จากสถาบันการแปลภาษาที่ได้รับใบอนุญาต โดยให้แนบเอกสารฉบับแปลมาคู่กับเอกสารต้นฉบับจริง
กรณีติดต่อผ่านองค์การสวัสดิภาพเอกชน จะต้องมีสำเนาในอนุญาตขององค์การ และหนังสือจากหน่วยงานรัฐบาลซึ่งรับรององค์การนั้นๆ ด้วย
กรณีที่ผู้ขอรับเด็กมีถิ่นที่อยู่ในประเทศอื่น ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยต้องอาศัยอยู่และมีระยะเวลาสำหรับทดลองเลี้ยงดูในประเทศที่มีถิ่นที่อยู่นั้น ไม่น้อยกว่า 6 เดือน และจะต้องมีเอกสารหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ ของผู้ขอรับเด็กประกอบการพิจารณาด้วย

ฝ่ายที่จะยกเด็กให้
1. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาเด็ก
2. ทะเบียนบ้าน
3. ทะเบียนสมรส
4. หนังสือสำคัญการหย่า และบันทึกข้อตกลงการหย่าระบุผุ้ใช้อำนาจปกครองเด็ก หรือคำสั่งศาล ระบุว่าฝ่ายใดเป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็ก
5. ในกรณีที่บิดามารดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และไม่สามารถติดตามตัวบิดาเด็กได้ ให้มารดาเด็กมาสอบข้อเท็จจริงพร้อมพยาน 2 คน ที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม หรือที่สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด ที่มารดาเด็กมีภูมิลำเนา ตามแบบบันทึกสอบปากคำ (ปค.14) รับรองว่า
5.1 บิดามารดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
5.2 บิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร และได้เลิกร้างกันไป (ระยะเวลาที่เลิกร้าง)
5.3 ไม่เคยมีคำพิพากษาให้ผู้ใดเป็นบิดาเด็กที่ถูกต้องตามกฎหมาย 
5.4 ไม่สามารถติดตามบิดาเด็กมาแสดงความยินยอมมอบเด็กได้
6. หนังสือแสดงความยินยอมของผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (แบบ บธ.6)
7. หนังสือแสดงความยินยอมของบิดาโดยพฤตินัย ( กรณีบิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ มารดาเด็ก หรือมิได้จดทะเบียนรับรองบุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย )
8. รูปถ่าย 4.5 x 6 เซนติเมตร ของบิดามารดาเด็กคนละ 4 รูป รวมทั้งสมาชิกในครอบครัว
9. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามีหรือจำเป็นต้องขอเพิ่ม) เช่น ใบมรณบัตร ใบเปลี่ยนชื่อตัว / ชื่อสกุล ประวัติบิดา มารดาเด็ก เป็นต้น

ฝ่ายเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
1. สูติบัตรเด็ก
2. ทะเบียนบ้านเด็ก
3. รูปถ่ายเด็กขนาด 4.5 x 6 เซนติเมตร 4 รูป
4. หนังสือแสดงความยินยอมของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
5. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามีหรือจำเป็นต้องขอเพิ่ม) เช่น ใบเปลี่ยนชื่อตัว / ชื่อสกุล

ขั้นตอนการดำเนินเรื่อง
1. เมื่อเอกสารหลักฐานต่างๆ ได้ครบสมบูรณ์แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ (นักสังคมสงเคราะห์) จะพิจารณาว่าผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติตามกฎหมายหรือไม่ หากพบว่าผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติเหมาะสม มีฐานะความเป็นอยู่ดี มีอุปนิสัยและความประพฤติดี อาชีพรายได้มั่นคง ฐานะของครอบครัวดีตลอดจนสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะรับเด็กไปอุปการะเลี้ยงดูได้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะประมวลรายรายละเอียดต่างๆ เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อนำเข้าไว้ในบัญชีรอการพิจารณาเด็กซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาเด็ก และพิจารณาครอบครัวที่เหมาะสมให้กับเด็กตามบัญชีก่อนหลัง
2. พนักงานเจ้าหน้าที่จะเสนอให้คณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พิจารณาเห็นชอบให้ผู้ขอฯ รับเด็กไปทดลองเลี้ยงดู
3. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ แจ้งประวัติเด็กพร้อมรูปถ่ายให้ผู้ขอรับเด็กพิจารณาผ่านหน่วยงานหรือองค์กรเอกชนที่ติดต่อเรื่องนี้มา พร้อมกับขออนุมัติวีซ่าเด็กไปยังประเทศที่เป็นภาคี Hague Convention ก่อน
4. เมื่อผู้ขอฯ แจ้งตอบรับเด็กให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการทราบแล้ว เจ้าหน้าที่จะเสนอเรื่องต่ออธิบดีเพื่ออนุมัติให้ทดลองเลี้ยงดูเด็ก และขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อนำเด็กออกไปนอกราชอาณาจักรไทย ส่วนประเทศที่เป็นภาคี Hague Convention นั้น สำนักงานกลางของประเทศนั้นๆ จะต้องตอบรับวีซ่าเข้าประเทศของเด็ก ก่อนที่จะเดินทางมาพบกรรมการฯ ที่ประเทศไทย
5. เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อนุญาต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะนัดหมายให้ผู้ขอรับเด็กทั้งสองเดินทางมารับการสัมภาษณ์ จากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมและรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดูเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในต่างประเทศ จะทำการทดลองเลี้ยงดูมาให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 2 เดือนต่อครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน
ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม หรือผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมและคู่สมรสแล้วแต่กรณี ต้องมารับเด็กไปทดลองเลี้ยงดูด้วยตนเองเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี ตามที่คณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเสนอในกรณีดังต่อไปนี้
- เด็กนั้นเดินทางไปยังประเทศที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เคยได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมาก่อนแล้ว และการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมครั้งหลังนี้ ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีเหตุจำเป็นอันไม่สมควร ที่ไม่สามารถมารับเด็กไปทดลองเลี้ยงดูได้ โดยทำเป็นหนังสือต่ออธิบดีพร้อมทั้งแสดงความจำนงว่าจะออกค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่และเด็ก เพื่อจะนำเด็กนั้นไปยังประเทศที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาหรือมีถิ่นที่อยู่
6. เมื่อทดลองเลี้ยงดูมาครบ 6 เดือน และมีรายงานผลการทดลองมาครบ 3 ครั้ง ซึ่งหากปรากฎว่าผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ เด็กอยู่อาศัยกับครอบครัวอย่างมีความสุข พนักงานเจ้าหน้าที่จะสรุปรายงานเสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอรับเด็กไปดำเนินการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายได้
7. ผู้ขอรับเด็กจะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย ที่ผู้ขอรับเด็กมีภูมิลำเนาอยู่ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะมีหนังสือขอความร่วมมือไปยังกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยรับทราบ พร้อมกันนี้ก็แจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้กับผู้ขอรับเด็กได้ทราบเรื่องด้วยพร้อมกัน
กรณีที่ผู้ขอรับเด็กอยู่ประเทศไทย การจดทะเบียนสามารถดำเนินการได้ที่ สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ซึ่งเป็นการร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ เช่นเดียวกับการขอบุตรบุญธรรมไทย
8. กระทรวงการต่างประเทศ จะส่งสำเนาภาพถ่ายเอกสารทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (คร.14) จำนวน 1 ชุด มาให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าการดำเนินการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ขอรับเด็ก (แต่ละราย) ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ และสำหรับผู้ขอรับเด็กที่อยู่ในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะขอสำเนาภาพถ่ายเอกสารทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (คร.14) จำนวน 1 ชุด จากผู้ขอรับเด็ก (แต่ละราย) ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ตามกฎหมายแล้ว



Tag: ทนายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน,  สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่เก่งๆ, ปรึกษาทนายเชียงใหม่,  ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ทนายความเชียงใหม่ช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายเชียงใหม่ความมุ่งมั่น, ทนายความเชียงใหม่คลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่มุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่คลายทุกข์



#ทนายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #สำนักงานทนายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #หอการค้าเชียงใหม่ #สภาอุตสาหกรรมเชียงใหม่ #ศาลเชียงใหม่ #อัยการเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #สภาทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่

ปรึกษาฟรี!! มุ่งมั่นช่วยเหลือแก่ทุกท่าน แบบมิตรภาพ โดยทีมทนายความวิถีพุทธ

ดร.เกียรติศักดิ์ เนติบัณฑิตย์ไทย ทนายวิถีพุทธ และทีมทนายความเชียงใหม่ ติดต่อโทร 081-951-1100

 
เว็บสำเร็จรูป
×